คราฟต์เบียร์ เป็นเบียร์ที่ผลิตมาจากผู้ผลิตรายเล็ก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจะทำให้การผลิตเบียร์มีจำกัด แต่ในขณะเดียวกันก็มีอิสระในการผลิตมากกว่าเช่นกัน เพราะว่าการหมักเบียร์นั้น ส่วนใหญ่จะใช้วิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งก็คือ การหมัก > บรรจุลงขวด > ส่งขายด้วยตนเอง เป็นต้น และผู้ผลิตสามารถลงมือผลิตได้ด้วยตัวเอง หรือจะเรียกอีกอย่างว่าเป็น เบียร์ทำมือ ก็ได้เช่นกัน หลัง ๆ มาจะเป็นที่นิยมในกลุ่มคนดื่มเบียร์เอามาก ๆ เพราะหลาย ๆ คนก็อยากหันมาสนับสนุนผู้ผลิตรายเล็ก ๆ กันบ้างนั่นเอง
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เบียร์ที่ผลิตขึ้นเองตามบ้าน จะไม่นับว่าเป็น คราฟต์เบียร์ ทั้งหมด เพราะว่าในวัฒนธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีการต้มเบียร์ดื่มเองในบ้านเป็นปกติ มีทั้งแบบสำหรับดื่มเอง หรือจะชวนเพื่อนมาปาร์ตี้ก็ได้เช่นกัน โดยเขาจะเรียกเบียร์เหล่านี้ว่า homebrew แต่คราฟเบียร์นั้นอย่างน้อยจะต้องผลิตมาจากโรงเบียร์ขนาดเล็ก ที่มีปริมาณมากเพียงพอในการวางจำหน่าย แต่ก็ต้องผลิตได้ไม่เกิน 7 ร้อยล้านลิตรต่อปีนะ
Craft Beer ที่เราพูดถึง และกำลังเป็นเทรนวันนี้ หมายถึงการทำเบียร์สไตล์อเมริกัน โดยผู้ผลิตเบียร์ต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่าง (กำหนดโดย Brewers Association) คือเป็นโรงเบียร์ขนาดเล็ก เจ้าของจะเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่า 75% (Independent) และนอกจากนี้จะต้องใช้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติทั้งหมดแบบ 100% และห้ามใส่วัตถุดิบสังเคราะห์กลิ่นหรือรสเพื่อลดต้นทุน ถ้าจะใส่ต้องใส่ เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติดีขึ้นเท่านั้น นั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมคราฟต์เบียร์ถึงรสชาติเรียลกว่า Commercial Beer และคำว่าเบียร์ท้องถิ่นที่พูดกันก็หมายถึงการทำเบียร์สไตล์อเมริกัน แต่ความคราฟต์ในความหมายว่าพิถีพิถันที่อื่นก็มีหมด ยกตัวอย่าง เช่น ในเบลเยียมน่าจะมีโรงเบียร์สัก 2,000-3,000 โรงเบียร์ และเบียร์ก็ดีทั้งหมด แต่กลับไม่ได้เรียกตัวเองว่าคราฟต์ เพราะเขาคราฟต์กันมา 500 ปีเลยทีเดียว !!
แน่นอนว่า คราฟเบียร์ มีความแตกต่างจาก เบียร์สดหรือเบียร์ขวดตั้งแต่กระบวนการผลิตแล้ว โดยเป็นผู้ผลิตที่ไม่ใช่ในรูปแบบของอุตสาหกรรม และเป็นการผลิตโดยใช้ฝีมือของผู้ผลิตเองจริง ๆ และสิ่งที่ทำให้สัมผัสได้ถึงความแตกต่างที่แท้จริงได้ก็คือ คราฟเบียร์ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการผลิต ด้วยความใส่ใจ เพื่อให้เบียร์ได้รสชาติและคุณภาพที่ดีที่สุดสำหรับผู้ดื่ม ซึ่งสามารถสรุปได้แบบเข้าใจง่าย ๆ คือ เบียร์ชนิดนี้ มีลักษณะคล้าย ๆ กับ specialty coffee ของคอกาแฟ มีความคล้ายกันเพราะใส่ใจในกระบวนการทำ และเน้นเรื่องของรสชาติและคุณภาพของผู้ดื่มเป็นหลัก
แม้ คราฟต์เบียร์ จะมีความโฮมเมดและรสชาติเรียลกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอร่อยกว่าเบียร์ขวดเสมอไป เพราะสุดท้ายความอร่อยหรือไม่อร่อยขึ้นอยู่กับความชอบ และรสนิยมของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณชอบสไตล์ Weizen Beer อย่าง Paulaner ซึ่งเป็นเบียร์รสชาติดั้งเดิมแบบสไตล์เยอรมัน ก็ไม่จำเป็นต้องดื่มคราฟเบียร์ แต่ว่าถ้าคุณชอบรสชาติขม ๆ ที่มาจากฮอปส์ของเบียร์ประเภท IPA ซึ่งเป็นคราฟต์เบียร์สไตล์อเมริกันแน่นอนคุณอาจจะชอบคราฟต์นั่นเอง
ทุกวันนี้ Craft Beer ของญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ก็มีชื่อเสียงมากพอ ๆ กับคราฟต์ของอเมริกาเลยทีเดียว ส่วนกิจกรรมการต้มเบียร์ของประเทศไทยแม้ว่าจะมีการเริ่มต้นมาในช่วงปี 2011 แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ให้ความสนใจ และทำคราฟต์เบียร์ของตัวเอง ซึ่งมียี่ห้อต่าง ๆ ที่เป็นแบรนด์คนไทยเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย ยกตัวอย่างเช่น ยี่ห้อ Chit beer ที่ถือว่าดังมาก ๆ ในวงการนี้ และนอกจากนี้ยังมี Devenom , Triple Pearl และ Golden coins เป็นต้น เห็นได้รับความนิยมขนาดนี้แต่ก็มีแนวโน้มที่วงการคราฟต์ไทยจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายอนุมัติคุ้มครองชัดเจน โดยคราฟต์ไทยเนี่ยจะเป็นสไตล์อเมริกันเสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางเจ้าอยู่เหมือนกันที่เลือกใช้สูตรแบบ German Beer Purity Law ของประเทศเยอรมัน โดยไม่ว่าจะดื่มคราฟต์ยี่ห้อไหน ๆ จะไทยหรือต่างประเทศ หรือจะเลือกดื่มเบียร์ธรรมดาทั่วไป ก็ถือว่าเป็นคอเบียร์ที่ยอดเยี่ยมเหมือนกัน โดยสำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มดื่มคราฟต์ไทยยี่ห้อไหนดี เรามีมาแนะนำ 5 ยี่ห้อ Craft Beer ที่คุณควรลอง ดังนี้
สาเหตุหลักประการหนึ่ง ที่ทำให้ เบียร์คราฟต์ นั้นมีราคาแพงกว่ามาก ก็เพราะว่าต้นทุนในการผลิตสูง ทำให้โรงเบียร์อิสระขนาดเล็ก ๆ เหล่านี้ผลิตเบียร์ในปริมาณน้อย ดังนั้นจึงไม่มีความหรูหรา และความเพลิดเพลินกับการประหยัดจากปริมาณการทำ นอกจากนี้พวกเขายังใช้วัตถุดิบคุณภาพสูง ที่คัดสรรมาอย่างดีสำหรับผลิตภัณฑ์และส่วนผสมที่มีคุณภาพเหล่านี้มีราคาสูงกว่านั่นเอง จึงทำให้พวกเขายังใช้ส่วนผสมในปริมาณมากขึ้นในสูตรของพวกเขาเพื่อดึงเอารสชาติ กลิ่น และ รูปลักษณ์ของเบียร์ออกมา ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ เป็นเหตุทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นสำหรับโรงเบียร์คราฟต์ขนาดเล็ก ๆ และทำให้เบียร์คราฟต์มีราคาแพงกว่าเบียร์ทั่วไปมากนั่นเอง
โรง เบียร์คราฟต์ ส่วนใหญ่จะระบุอย่างถูกต้องว่ารถบรรทุกของฮ็อพและมอลต์ชนิดพิเศษนั้นเพิ่มต้นทุนมหาศาล แต่อาจไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนหลักของส่วนต่างราคาระหว่างเบียร์โรงเบียร์ขนาดใหญ่เหล่านี้ และทำให้โรงเบียร์ขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมาก โดยใช้น้ำต่อลิตรต่ำ ใช้พลังงานต่ำ และสิ้นเปลืองผลิตภัณฑ์เพียงเล็กน้อย โรงเบียร์คราฟต์อาจแย่กว่าปกติถึง 2 - 5 เท่าสำหรับมาตรการเหล่านี้ ดังนั้นเบียร์คราฟต์จึงมีราคาแพงกว่าในการผลิต และคุณสามารถคาดหวังที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับเบียร์นั้น ๆ โดยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมบางส่วนนั้นมาจากวัสดุที่ใช้โดยตรงและรสชาติที่ยอดเยี่ยม นั่นคือผลประโยชน์ที่คุณจ่ายไป นั่นเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่คุณต้องจ่ายเพื่อให้ได้คุณภาพจากเบียร์ที่คุณได้รับประทาน
คราฟท์เบียร์ จากเครือมหานครของประเทศไทยที่เพิ่งจะได้รับรางวัลเหรียญเงินจากเวที World Beer Awards 2020 ถึงแม้จะเป็น คราฟท์เบียร์ จากคนไทยแต่กลับต้องจดทะเบียนเป็นของประเทศเวียดนามซะอย่างงั้น !! จนเกิดเป็นคำถามตามมาว่าเพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น? ซึ่งก็ได้คำตอบจากกฎกระทรวงมาว่า การอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 ของประเทศไทย ในการสร้างแบรนด์คราฟต์เบียร์นั้นต้องผ่านอะไรบ้าง? ซึ่งก็พบข้อกำหนดดังนี้
และด้วยข้อกำหนดเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่มีกำลังทุนอันน้อยนิด ต้องออกไปผลิตที่ประเทศอื่น ซึ่งถ้ามองไปยังประเทศเวียดนามนั่นเอง โดยกฎหมายเกี่ยวกับการผลิตและขายเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ ต้องผ่านเกณฑ์หลัก ๆ ดังนี้
และถ้าหากลองเปรียบเทียบ ก็จะเห็นความแตกต่างของข้อกฎหมายค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก ๆ เกี่ยวกับการกำกับดูแลและการผลิตเบียร์ของภาครัฐในต่างประเทศหลัก ๆ ที่ขึ้นชื่อเรื่อง คราฟท์เบียร์ จะแยกการผลิตเบียร์ออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
โดยรวมแล้วหากมีการปลดล็อกกฎหมายเรื่อง คราฟต์เบียร์ เพื่อที่จะให้มีการผลิตได้อย่างจริงจังในประเทศไทย นอกจากจะทำให้ตลาดเบียร์ ในประเทศมีการแข่งขันมากขึ้นแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้คนไทยมีโอกาสพัฒนาศักยภาพ ไปเป็นผู้ผลิตเบียร์ในระดับภูมิภาคได้อีกด้วยนะ แทนที่จะต้องนำเข้าเบียร์คราฟท์ จากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำเข้าคราฟท์เบียร์มาดื่มในราคาที่แพงขึ้นทั้ง ๆ ที่คนไทยทำเองได้แท้ ๆ ซึ่งเป็นจุดที่น่าเสียดายมากกับกฎหมายไทยในตอนนี้