เราจำเป็นต้องยื่น ภาษีคริปโต ไหม? ในช่วงปี 2021-2022 ที่ผ่านมา การใช้จ่ายผ่านช่องทางคริปโตฯ นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่ามันคืออะไร และต้องเป็นกลุ่มคนประเภทไหนที่จำเป็นจะต้องเสียภาษีคริปโต ? ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประเด็นร้อนแรง ที่ถูกถกเถียงกันอย่างมาก หลังจากที่กรมสรรพากรประกาศว่าต่อจากนี้ไปจะมีการเรียกเก็บภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 เป็นต้นไป
ที่เรียกเก็บภาษีคริปโตฯ นั่นก็เพราะในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ตัวเลขของการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากมูลค่าการซื้อขาย เฉลี่ยประมาณ 240 ล้านบาทต่อวันเลยทีเดียว และเติบโตเป็น 4,839 ล้านบาท ซึ่งแถมมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าในไทย ก็ยังเพิ่มจาก 9,600 ล้านบาท รวมแล้วกลายเป็น 114,539 ล้านบาท !! ในด้านของจำนวนบัญชีก็เติบโตกว่า 10 เท่า จากเดิม 1.7 แสนราย กลายมาเป็น 1.98 ล้านราย โดยเราได้รวบรวมข้อมูลของภาษี คริปโตไว้ในบทความนี้ทั้งหมด เพื่อคลายทุกข้อสงสัยของเหล่านักลงทุน
ก่อนจะยื่นภาษี คริปโต แน่นอนว่าเราต้องทำความรู้จักกับเจ้าคริปโตเคอเรนซี่กันให้ดีเสียก่อน Cryptocurrency ก็คือ หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมไปถึงแลกเปลี่ยนทรัพย์สินทางดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ หากผู้ที่ใช้บริการมีการยอมรับข้อตกลงระหว่างกัน และถ้าหากแปลจากความหมายแบบตรงตัวก็คือสกุลเงินที่ถูกเข้ารหัส เพื่อใช้ในการป้องกันและยืนยันธุรกรรมผ่านระบบที่เรียกว่า บล็อกเชน (Blockchain) เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของผู้ที่ใช้คริปโตเคอเรนซี่นั่นเอง
คริปโตและระบบบล็อกเชน หรือ Blockchain คืออะไร ? ทำงานยังไงและทำไมถึงปลอดภัย นั่นก็เพราะว่าโอกาสที่ระบบบล็อกเชนจะถูกโจรกรรมนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ถ้าเรารู้วิธีการลงทุนอย่างถูกต้องในคริปโตเคอเรนซี่ เงินลงทุนของเราก็จะไม่มีทางหายไปจากการถูกขโมยอย่างแน่นอน และนอกจากนี้ Cryptocurrency ก็ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งเปรียบเสมือนแต้มสะสมคล้าย ๆ กับ reward points ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อะไรบางอย่าง เช่น บางเหรียญก็จะถูกกำหนดมาเพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมในการใช้บริการแพลตฟอร์มบางอย่าง หรือบางเหรียญก็สามารถนำไปสะสมและแลกรางวัลได้ตามที่กำหนด
การเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซี่ดิจิทัล ที่ถืออยู่ไปเป็นเงินสดสินค้า บริการ หรือแม้แต่เปลี่ยนเป็นเหรียญคริปโตสกุลอื่น ๆ นั้น รวมถึง stable coins เช่น USTD จะต้องรับรู้เป็นเงินได้ ณ วันเวลาที่แลกเปลี่ยน โดยแม้ว่าจะไม่มีการถอนเงินสด ออกมาจาก wallet หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารเลยก็ตาม โดยสรุป บุคคลทั่วไปจะต้องเสียภาษี คริปโตฯได้ดังนี้
กรมสรรพากร ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับการเสียภาษีเกี่ยวกับคริปโต และหาแนวทาง ทางออกเกี่ยวกับการเสียภาษีของเงินได้บุคคลธรรมดาจากเทรดคริปโตเคอเรนซี่ โดยได้ออกคู่มือการเสียภาษีพร้อมกับตอบข้อซักถามต่าง ๆ ที่เราจะมานำเสนอกันต่อไปนี้
นั่นก็เพราะว่าตามมาตรากฎหมาย มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวว่า ผู้ที่มีกำไรจากการขายคริปโตเคอเรนซี่ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร โดย พ.ร.ก แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 19 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561 แล้ว เป็นเพียงการจัดประเภทเงินได้ใหม่เท่านั้น เนื่องจากการขายคริปโตเคอเรนซี่มีลักษณะเป็นเงินที่ได้รับจากการลงทุน ภายหลังที่ออก พรก ดังกล่าว กรมสรรพากรก็ได้ประชาสัมพันธ์ประเด็นนี้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีไม่ได้รับโทษในภายหลัง เพราะการไม่ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ทางภาษีอย่างถูกต้องนี่เอง
อย่างแรกเลยคือ คริปโตเคอเรนซี่ (Cyrptocurrency) ที่เป็นหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการในทางดิจิทัล โดยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น bitcoin ethereum และอีกอย่างนึงก็คือ โทเคนดิจิทัล (Token Digital) คือหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคล ในส่วนแบ่งรายได้หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า และบริการ หรือรวมไปถึงสิทธิอื่น ๆ ตามที่ได้ตกลงกับผู้ออกโทเคน
คือผู้ที่มีเงินได้จากการโอน หรือขายคริปโตเคอเรนซี่ ที่ตีราคาแล้วเป็นเงินได้เกินกว่าเงินที่ลงทุน และผู้มีที่เงินได้จากการขายคริปโตเคอเรนซี่ที่ได้จากการขุด และสุดท้ายก็คือ ผู้ที่มีเงินได้จากผลตอบแทนใดๆ จากการนำคริปโตเคอเรนซี่ไปหาผลประโยชน์นั่นเอง
ทั้งนี้แล้ว เงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้ จากการขุด (Mining) ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรประเทศไทย โดยผู้มีเงินได้จากการขาย คริปโตเคอร์เรนซี นั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ต้องให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เหรียญคริปโตนั้นมีมากมายหลากชนิด แต่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้คริปโตเคอเรนซี่ และผู้ที่จะต้องเสียภาษี Cryptocurrency ต้องรู้ไว้เป็นอย่างดี โดยจะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
ในการเสียภาษี Cryptocurrency เราต้องมีการคำนวณต้นทุนของ คริปโตเคอเรนซี่เสียก่อน แต่คำนวณอย่างไรเรามีคำตอบง่าย ๆ มาให้ทุกคนได้ลองคำนวณเองกัน โดยเราสามารถคำนวณต้นทุนโดยอาจใช้เป็นต้นทุนแบบถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือวิธีเข้าก่อนออกก่อน หรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสมได้ โดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งในการคำนวณต้นทุนแล้ว ก็ต้องใช้วิธีนั้น ๆ ในการคำนวณต้นทุนแบบเดิมไปตลอดทั้งปีนั่นเอง
แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนวิธีการคำนวณในปีถัดไป นักลงทุนทั้งหลายก็สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องขออนุมัติใด ๆ จากอธิการบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิการบดีกรมสรรพากรมอบหมาย แต่สามารถเปลี่ยนได้เลยทันที และนอกจากนี้ภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดา จะเก็บจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอเรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินจากเงินคริปโตเคอเรนซี่ให้เป็นเงินบาทนั้น หากมีเงินได้เกินกว่าเงินลงทุนก็จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 และต้องนำไปยื่นเสียภาษีนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินบาทจำนวน 100 บาท ไปซื้อคริปโตเคอเรนซี่ได้ 1 เหรียญ ต่อมาได้นำเหรียญดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ได้ 150 บาท ก็ถือว่าได้เงินได้เกินกว่าส่วนที่ลงทุนไป 50 บาท นั่นเอง
โดยสรุปแล้ว ภาษีคริปโต นั้นไม่ว่าจะยังไงเราก็จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีในส่วนนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยข้อกำหนดที่มีในปัจจุบันอาจจะต้องถูกปรับอีกหลายส่วน เพื่อให้ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นและไม่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่ชำระภาษีอย่างถูกต้องแล้วนั้น เราก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าทางสรรพากร จะมีการรับมือกับกระแสเหล่านี้ และมีการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายอย่างไรบ้างในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมไทยมากยิ่งขึ้น